ปรากฎการณ์แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Polaris)

     Video by.. Terje Sorgjerd

เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม พบได้เฉพาะบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

เช่น แคนาดา รัฐอลาสก้าของสหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย แต่บางครั้งอาจจะปรากฏให้เห็นในที่ซึ่งอยู่ละติจูดต่ำลงมา ถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือเรียกว่าแสงเหนือ (northern lights) หรือเรียกเป็นทางการว่าแสงออโรรา บอรีเอลิส (aurora borealis) แต่ถ้าเกิดใกล้ขั้วโลกใต้จะเรียกว่าแสงใต้ (southern lights) หรือแสงออโรรา ออสตราลิส (aurora australis)

556000010704101

อริสโตเติล (ARISTOTLE)

ผู้แรกที่พยายามบอกว่าแสงเหนือแสงใต้เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติคือ อริสโตเติล ปรัชญาเมธีชาวกรีก ซึ่งยืนยันว่าแสงเหนือไม่ใช่ปรากฏการณ์จากท้องฟ้า แต่เป็นไอระเหยจากโลกแล้วเกิดการสับดาปกับชั้นบรรยากาศ   ถึงคำอธิบายนี้จะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็ต้องยกความดีความชอบให้แก่ท่านในความพยายามที่จะให้มนุษย์คิดอย่างวิทยาศาสตร์มากกว่าเชื่ออย่างงมงาย เมื่อวิทยาการต่าง ๆ เจริญรุดหน้ามากขึ้นในศตวรรษที่ 20 ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์แสงประหลาดนี้ได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก

Alf_Collett_av_Asta_Nørregaard_OB.00253

คริสเชียน เบิร์กแลนด์ ( Kristian Birkeland)

ในปี1896ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับแสงออโรรามาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ Kristian Birkeland – คริสเชียน เบิร์กแลนด์(1867-1917) โดยเขาเสนอว่าแสงออโรราเกิดจากอนุภาคมีประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ถูกสนามแม่เหล็กโลกดึงมันเข้าสู่บริเวณขั้วโลกจริงๆแล้วเขาไม่ใช่คนแรกที่เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาคจากดวงอาทิตย์แต่ผลงานของเขาโดดเด่นเนื่องจากเขาสามารถทำการทดลองในเรื่องนี้ได้  เมื่อเกิดปรากฏการณ์ผิวดวงอาทิตย์ปะทุขึ้น จะปลดปล่อยอนุภาคอิเลกตรอนทุกทิศทุกทางไปในห้วงอวกาศ เรียกว่าลมสุริยะ (Solar wind)?เมื่อลมสุริยะผ่านเข้ามาใกล้โลก ขั้วแม่เหล็กโลกจะดึงดูดอนุภาคอิเลกตรอนบางส่วนเข้าหา ขณะที่อิเลกตรอนผ่านเข้าใกล้ชั้นบรรยากาศโลก จะกระทบกับอะตอมหรือโมเลกุลของแก๊สที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ จึงทำให้เกิดการเรืองแสงเช่นเดียวกับการทดลองเรื่องอิเลกตรอนในหลอดสุญญากาศของเซอร์วิลเลียม คุก

แสงเหนือแสงใต้มีสีสันต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่พบจะมีสีเขียวหรือสีขาว สีอื่นที่พบได้บ้าง เช่นสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง นอกจากนี้สีของแสงออโรราขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สที่ถูกอิเลกตรอนชน สีที่เห็นส่วนใหญ่คือสีเขียวหรือขาวอมเขียว ซึ่งเกิดจากอิเลกตรอนชนกับอะตอมของแก๊สออกซิเจนที่ชั้นความสูงไม่มาก บางครั้งจะเห็นสีแดงที่ปลายด้านล่าง เกิดจากอิเลกตรอนกระทบกับโมเลกุลของออกซิเจนหรือไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศที่อยู่ต่ำลงมา

This slideshow requires JavaScript.

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก:
wonderfulworld-bell.blogspot.com, http://www.narit.or.th
http://teen.mthai.com/variety/73134.html

ใส่ความเห็น